วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

หลอดไฟ


                      เรื่องน่ารู้ ชนิดของหลอดไฟ และ การใช้งาน หลอดไฟ


1.หลอดกลม


        ระบบการทำงานของหลอดกลมคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเส้นลวดเล็ก ๆ ที่อยู่ภายในหลอด เพื่อทำให้เกิดความร้อน ความร้อนนี่เองที่เป็นตัวจุดประกายไฟ และให้แสงสว่าง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดไฟประเภทนี้ใช้พลังงานค่อนข้างมาก และเสื่อมสภาพเร็ว โดยมีระยะการใช้งานแค่ประมาณ 8 เดือน ดังนั้นในตอนนี้ผู้ผลิตจึงหันความสนใจไปที่การผลิตหลอดไฟแบบอื่นแทน และด้วยหลอดไฟที่มีอายุการใช้งานนานกว่า และประหยัดพลังงานมากกว่า ทั้งนี้มีการคาดกันว่าหลอดไฟประเภทนี้จะถูกลดจำนวนการใช้งานลงเรื่อย ๆ และหมดไปในที่สุด 

2หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 
          หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อของ หลอดตะเกียบ นั้นถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้แทนหลอดไส้แบบเก่า เพราะหลอดตะเกียบนอกจากจะมีขนาดกระทัดรัดแล้ว ยังเพิ่มระดับความสว่าง และมีอายุการใช้งานที่มากขึ้น โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยถึง 7 ปี หรือประมาณ 8,000 ชั่วโมง อีกทั้งยังสามารถประหยัดพลังงานได้มากถึง 4 เท่าของหลอดไฟแบบเก่าด้วย ขนาดของหลอดตะเกียบแบ่งออกเป็น 5 ชนิดด้วยกันคือ 2U 3U 4U 5U และ 6U สามชนิดหลังเหมาะกับโรงงานหรืออาคารเชิงพาณิชย์มากกว่า ส่วนชนิดที่เหมาะกับบ้านเรือนที่พักอาศัยทั่วไปคือ 2U และ 3U นั่นเอง

สะพานไฟ
          สะพานไฟ, คัตเอาท์ (อังกฤษ: cut-out) หรือ ตัวตัดวงจร, เซอร์กิตเบรกเกอร์ (อังกฤษ: circuit breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดตอนแหล่งจ่ายไฟออกจากวงจรไฟฟ้าลูก เช่น ตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านออกจากแหล่งจากไฟภายนอกเป็นต้น นอกจากทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าเมื่อผู้ใช้สั่งการแล้ว ยังทำหน้าที่ตัดการจ่ายไฟโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีเหตุ ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟรั่ว ไฟตก ไฟเกิน ได้แล้วแต่ความสามารถของสะพานไฟที่ใช้
ฟิวส์ (Fuse)
       ฟิวส์ (อังกฤษ: fuse) เป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยจะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวล์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
       

ไฟฟ้ากับมนุษย์

     มนุษย์รู้จักไฟฟ้ามานานกว่า 2,000 ปีแล้ว  แต่ไม่มีใครบอกได้ว่ามันคืออะไร  ทราบแต่เพียงว่ามันคือพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานความร้อน แสง และเสียง เป็นต้น ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกชื่อเทเลส (Theles) เกิดอยู่ในระหว่างก่อนปี พ.ศ. 3-81 ได้นำแท่งอำพันมาชัดสีกับผ้าขนสัตว์ แท่งอำพันที่เกิดความร้อนขึ้นนั้นจะมีอำนาจดูดสิ่งของเบาๆ ได้ เช่น ผม กระดาษชิ้นเล็กๆ และเศษผงชิ้นเล็กๆ เป็นต้น จึงได้ตั้งชื่อเป็นภาษากรีกว่า อิเล็กตรอน (Electron)
          ต่อจากนั้นมาอีกประมาณกว่า 2,000 ปี คือราว พ.ศ. 2148 ดร. กิลเบอร์ด (Dr. Gillbert) เป็นชาวอังกฤษ ได้รื้อพื้นหลักการของไฟฟ้าสถิตของเทเลส โดยนำเอาผ้าแพรและผ้าขนสัตว์มาถูกับแท่งแก้ว การมองอย่างไม่มีการศึกษาวิเคราะห์วิจัย จะไม่สามารถบอกได้ว่าวัตถุเหล่านั้นแตกต่างกันเพราะอะไร แต่ถ้ามองอย่างรอบคอบและทำการศึกษาวิเคราะห์วิจัยไปพร้อมๆ กันก็จะพบว่าวัตถุต่างๆ ที่อยู่บนโลกนี้มีความแตกต่างกันเพราะโครงสร้างส่วนเล็กๆ ที่รวมตัวกันขึ้นมาเป็นวัตถุเหล่านั้นแตกต่างกัน แต่พบว่าภายในโครงสร้างของวัตถุเหล่านั้น มีส่วนประกอบที่รวมตัวขึ้นมาเป็นวัตถุมีลักษณะเหมือนกันคือมี โมเลกุล อะตอม นิวเคลียส นิวตรอน โปรตอน และอิเล็กตรอนเหมือนกัน



อุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรรู้จัก
 
สายไฟ (wire)
         สายไฟเป็นอุปกรณ์สำหรับส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยกระแสไฟฟ้าจะนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า (ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี) ได้แก่
1. สายไฟแรงสูง ทำด้วยอะลูมิเนียม เพราะอะลูมิเนียม มีราคาถูกและน้ำหนักเบากว่าทองแดง (อะลูมิเนียมมีความต้านทาน สูงกว่าทองแดง)
2. สายไฟทั่วไป (สายไฟในบ้าน) ทำด้วยโลหะทองแดง เพราะทองแดงมีราคาถูกกว่าโลหะเงิน (เงินมีความต้านทานน้อยกว่า ทองแดง)
           

ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

     เรียนรู้การใช้ที่ถูกวิธี ต้องรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงประเภทของไฟฟ้า วงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรจะรู้จัก

กระแสไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
 ไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
  ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
         คือ แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสในช่วงการจ่าย ตัวอย่าง เช่น แบตเตอรี่และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สายต่อหลักดิน

สายต่อหลักดิน (Grounding Electrode Conductor หรือ Earthing Conductor)
        คือ สายตัวนำที่ใช้ต่อระหว่างหลักดินกับส่วนที่ต้องการต่อลงดิน ซึ่งในที่นี้หมายถึงสายที่ต่อระหว่างหลักดินกับขั้วต่อสายศูนย์หรือขั้วต่อสายดินในแผงสวิทช์ประธาน (ตู้เมนสวิทช์) เพื่อให้ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้ามีการต่อลงดิน