วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

หลอดไฟ


                      เรื่องน่ารู้ ชนิดของหลอดไฟ และ การใช้งาน หลอดไฟ


1.หลอดกลม


        ระบบการทำงานของหลอดกลมคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเส้นลวดเล็ก ๆ ที่อยู่ภายในหลอด เพื่อทำให้เกิดความร้อน ความร้อนนี่เองที่เป็นตัวจุดประกายไฟ และให้แสงสว่าง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดไฟประเภทนี้ใช้พลังงานค่อนข้างมาก และเสื่อมสภาพเร็ว โดยมีระยะการใช้งานแค่ประมาณ 8 เดือน ดังนั้นในตอนนี้ผู้ผลิตจึงหันความสนใจไปที่การผลิตหลอดไฟแบบอื่นแทน และด้วยหลอดไฟที่มีอายุการใช้งานนานกว่า และประหยัดพลังงานมากกว่า ทั้งนี้มีการคาดกันว่าหลอดไฟประเภทนี้จะถูกลดจำนวนการใช้งานลงเรื่อย ๆ และหมดไปในที่สุด 

2หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 
          หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อของ หลอดตะเกียบ นั้นถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้แทนหลอดไส้แบบเก่า เพราะหลอดตะเกียบนอกจากจะมีขนาดกระทัดรัดแล้ว ยังเพิ่มระดับความสว่าง และมีอายุการใช้งานที่มากขึ้น โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยถึง 7 ปี หรือประมาณ 8,000 ชั่วโมง อีกทั้งยังสามารถประหยัดพลังงานได้มากถึง 4 เท่าของหลอดไฟแบบเก่าด้วย ขนาดของหลอดตะเกียบแบ่งออกเป็น 5 ชนิดด้วยกันคือ 2U 3U 4U 5U และ 6U สามชนิดหลังเหมาะกับโรงงานหรืออาคารเชิงพาณิชย์มากกว่า ส่วนชนิดที่เหมาะกับบ้านเรือนที่พักอาศัยทั่วไปคือ 2U และ 3U นั่นเอง

สะพานไฟ
          สะพานไฟ, คัตเอาท์ (อังกฤษ: cut-out) หรือ ตัวตัดวงจร, เซอร์กิตเบรกเกอร์ (อังกฤษ: circuit breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดตอนแหล่งจ่ายไฟออกจากวงจรไฟฟ้าลูก เช่น ตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านออกจากแหล่งจากไฟภายนอกเป็นต้น นอกจากทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าเมื่อผู้ใช้สั่งการแล้ว ยังทำหน้าที่ตัดการจ่ายไฟโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีเหตุ ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟรั่ว ไฟตก ไฟเกิน ได้แล้วแต่ความสามารถของสะพานไฟที่ใช้
ฟิวส์ (Fuse)
       ฟิวส์ (อังกฤษ: fuse) เป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยจะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวล์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
       

ไฟฟ้ากับมนุษย์

     มนุษย์รู้จักไฟฟ้ามานานกว่า 2,000 ปีแล้ว  แต่ไม่มีใครบอกได้ว่ามันคืออะไร  ทราบแต่เพียงว่ามันคือพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานความร้อน แสง และเสียง เป็นต้น ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกชื่อเทเลส (Theles) เกิดอยู่ในระหว่างก่อนปี พ.ศ. 3-81 ได้นำแท่งอำพันมาชัดสีกับผ้าขนสัตว์ แท่งอำพันที่เกิดความร้อนขึ้นนั้นจะมีอำนาจดูดสิ่งของเบาๆ ได้ เช่น ผม กระดาษชิ้นเล็กๆ และเศษผงชิ้นเล็กๆ เป็นต้น จึงได้ตั้งชื่อเป็นภาษากรีกว่า อิเล็กตรอน (Electron)
          ต่อจากนั้นมาอีกประมาณกว่า 2,000 ปี คือราว พ.ศ. 2148 ดร. กิลเบอร์ด (Dr. Gillbert) เป็นชาวอังกฤษ ได้รื้อพื้นหลักการของไฟฟ้าสถิตของเทเลส โดยนำเอาผ้าแพรและผ้าขนสัตว์มาถูกับแท่งแก้ว การมองอย่างไม่มีการศึกษาวิเคราะห์วิจัย จะไม่สามารถบอกได้ว่าวัตถุเหล่านั้นแตกต่างกันเพราะอะไร แต่ถ้ามองอย่างรอบคอบและทำการศึกษาวิเคราะห์วิจัยไปพร้อมๆ กันก็จะพบว่าวัตถุต่างๆ ที่อยู่บนโลกนี้มีความแตกต่างกันเพราะโครงสร้างส่วนเล็กๆ ที่รวมตัวกันขึ้นมาเป็นวัตถุเหล่านั้นแตกต่างกัน แต่พบว่าภายในโครงสร้างของวัตถุเหล่านั้น มีส่วนประกอบที่รวมตัวขึ้นมาเป็นวัตถุมีลักษณะเหมือนกันคือมี โมเลกุล อะตอม นิวเคลียส นิวตรอน โปรตอน และอิเล็กตรอนเหมือนกัน



อุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรรู้จัก
 
สายไฟ (wire)
         สายไฟเป็นอุปกรณ์สำหรับส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยกระแสไฟฟ้าจะนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า (ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี) ได้แก่
1. สายไฟแรงสูง ทำด้วยอะลูมิเนียม เพราะอะลูมิเนียม มีราคาถูกและน้ำหนักเบากว่าทองแดง (อะลูมิเนียมมีความต้านทาน สูงกว่าทองแดง)
2. สายไฟทั่วไป (สายไฟในบ้าน) ทำด้วยโลหะทองแดง เพราะทองแดงมีราคาถูกกว่าโลหะเงิน (เงินมีความต้านทานน้อยกว่า ทองแดง)
           

ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

     เรียนรู้การใช้ที่ถูกวิธี ต้องรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงประเภทของไฟฟ้า วงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรจะรู้จัก

กระแสไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
 ไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
  ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
         คือ แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสในช่วงการจ่าย ตัวอย่าง เช่น แบตเตอรี่และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สายต่อหลักดิน

สายต่อหลักดิน (Grounding Electrode Conductor หรือ Earthing Conductor)
        คือ สายตัวนำที่ใช้ต่อระหว่างหลักดินกับส่วนที่ต้องการต่อลงดิน ซึ่งในที่นี้หมายถึงสายที่ต่อระหว่างหลักดินกับขั้วต่อสายศูนย์หรือขั้วต่อสายดินในแผงสวิทช์ประธาน (ตู้เมนสวิทช์) เพื่อให้ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้ามีการต่อลงดิน


หลักดิน

หลักดิน (Ground rod หรือ Grounding Electrode หรือ Earth Electrode)
        หมายถึง แท่งหรือแผ่นโลหะที่ฝังอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดยสะดวก วัตถุที่จะนำมาใ้ช้เป็นหลักดิน เช่น ทองแดง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) ยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น




สายดินเพื่อความปลอดภัย

สายดินเพื่อความปลอดภัย
        สายเขียว สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าสายดินเครื่องใช้ไฟฟ้า (Equipment Grounding Conductor หรือ Protective Conductor หรือ P.E.) คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายเดียวกันคือ หมายถึง ตัวนำ หรือ สายไฟฟ้าที่ต่อจากส่วนที่เป็นเปลือกโลหะของเครื่องใช้ไฟ้าหรืออุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้า ซึ่งปกติเป็นส่วนที่ไม่มีไฟฟ้าและมักมีการจับต้องขณะใช้งาน เพื่อให้เป็นเ้ส้นทางที่สามารถนำกระแสไฟฟ้ากรณีที่มีไฟรั่วให้ไหลลงดินโดยผู้ใช้หรือบุคคลทั่วไปที่มาสัมผัสและไม่เกิดอันตราย ขณะเดียวกันก็เป็นเส้นทางให้กระแสไฟรั่วไหลย้อนกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าได้สะดวก เพื่อให้เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติทำงานตัดไฟออกทันที โดยทั่วไปสายไฟดังกล่าวมักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า สายดิน


เครื่องตัดไฟรั่ว

เครื่องตัดไฟรั่ว

        หรือ เครื่องตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน (ELCB, GFCI, RCD, RCCB, RCBO) หมายถึง สวิทช์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อมีกระไฟ้ารั่วไหลลงดินในปริมาณมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น


เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรคเกอร์)

เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรคเกอร์) 
        หรือสวิทช์อัตโนมัติ หมายถึงอุปกรณ์ที่สามารถใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้าได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถปลดวงจรที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน และกระแสลัดวงจรได้โดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนั้นต้องไม่เกินขนาดพิกัดในการตัดกระแสลัดวงจรของเครื่อง (IC)




เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 3

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 3
          หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 50 โวลต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ต้องมีสายดิน


เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2
     หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการหุ้มฉนวนที่มีไฟฟ้า ด้วยฉนวนที่มีความหนาเป็น 2 เท่า ของความหนาที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆ ไปสัญลักษณ์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องต่อสายดิน


เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1
    หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีความหนาของฉนวนไฟฟ้าเพียงพิสำหรับการใช้งานปกติเท่านั้น โดยมักมีเปลือกนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำด้วยโลหะเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องมีการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะนั้น เพื่อใช้สามารถต่อลงดินมายังตู้เมนสวิทช์โดยผ่านทางขั้วสายดินของเต้าเสียบ-เต้ารับ




เต้าเสียบ

เต้าเสียบ
     หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องไฟฟ้าเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้


เต้ารับ

เต้ารับ
   หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรบสำหรับหัวเสีียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งกับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคารเป็นต้น

ฟิวส์

ฟิวส์ 
     เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งโดยจะตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด และเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ผ่านฟิวส์


เมนสวิทช์ (Main Switch)

เมนสวิทช์ (Main Switch)
        
      หรือสวิทช์ประธานเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับต่อวงจรของสายเมนเข้าอาคารกับสายภายในทังหมด เป็นอุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการไฟฟ้าเข้ามาในบ้านเมนสวิทช์ประกอบด้วยเครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสเกิน (Overcurrent Protective Device)
    หน้าที่ของเมนสวิทช์ คือ คอยควบคุมการใช้ไฟ้าให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกิน หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เราสามารถสับ หรือปลดออกได้ทันที เพื่อตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามายังอาคาร



วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเภทของไฟฟ้า

ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จากแหล่งกำเนิดหลายๆ แบบ ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆได้ดังนี้
   1. ไฟฟ้าสถิต ( Static Electricity )

   2. ไฟฟ้ากระแส ( Current Electricity

ไฟฟ้าสถิต
           ไฟฟ้าสถิต คือ ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีเมื่อเอาวัตถุบางอย่างมาถูกันจะทำให้เกิดพลังงานขึ้น ซึ่งพลังงานนี้สามารถ ดูดเศษกระดาษหรือฟางข้าวเบาๆได้ เช่น เอาแท่งยางแข็งถูกับผ้าสักหลาด หรือครั่งถูกับผ้าขนสัตว์ พลังงานที่เกิดขึ้น เหล่านี้เรียกว่า ประจุไฟฟ้าสถิต เมื่อเกิดประจุไฟฟ้าแล้ว วัตถุที่เกิดประจุไฟฟ้านั้นจะเก็บประจุไว้ แต่ในที่สุดประจุไฟฟ้า จะถ่ายเทไปจนหมด วัตถุที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้นั้นจะคายประจุอย่างรวดเร็วเมื่อต่อลงดิน ในวันที่มีอากาศแห้งจะทำให้เกิด ประจุไฟฟ้าได้มาก ซึ่งทำให้สามารถดูดวัตถุจากระยะทางไกลๆได้ดี ประจุไฟฟ้าที่เกิดมีอยู่ 2 ชนิด คือ ประจุบวกและ ประจุลบ คุณสมบัติของประจุไฟฟ้า คือ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกันประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะดูดกัน


ไฟฟ้ากระแส
            ไฟฟ้ากระแสคือ การไหลของอิเล็กตรอนภายใน ตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเช่น ไหลจาก แหล่งกำเนิดไฟฟ้าไปสู่แหล่ง ที่ต้องการใช้กระ แสไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิด แสงสว่าง เมื่อกระแส ไฟฟ้าไหลผ่านลวด ความต้านทานสูงจะก่อให้ เกิดความร้อน เราใช้หลักการเกิดความร้อน เช่นนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เตาหุงต้ม เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น




วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จากแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน

ไฟฟ้าเกิดจากการเสียดสี

ไฟฟ้าเกิดจากการเสียดสี  เป็นไฟฟ้าที่ถูกค้นพบมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว เกิดขึ้นได้จากการนำวัตถุต่างกัน 2 ชนิดมาขัดสีกัน เช่น  จากแท่งยางกับผ้าขนสัตว์  แท่งแก้วกับผ้าแพร  แผ่นพลาสติกกับผ้า  และหวีกับผม เป็นต้น  ผลของการขัดสีดังกล่าวทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นของประจุไฟฟ้าในวัตถุทั้งสอง  เนื่องจากเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า  วัตถุทั้งสองจะแสดงศักย์ไฟฟ้าออกมาต่างกัน  วัตถุชนิดหนึ่งแสดงศักญ์ไฟฟ้าบวก ( + ) ออกมา  วัตถุอีกชนิดหนึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้าลข (-) ออกมา ไฟฟ้าเกิดจากการเสียดสี

ไฟฟ้าเกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี
            เมื่อนำโลหะ 2 ชนิดที่แตกต่างกันเช่น สังกะสีกับทองแดงจุ่มลงในสารละลายอิเล็กโทรไลท์ โลหะทั้งสองจะทำปฏิกริยาเคมี กับสารละลายอิเล็กโทรไลท์ โดยอิเล็กตรอน(ประจุลบ)จากทองแดงจะถูกดูดเข้าไปยังขั้วของสังกะสี เมื่อทองแดงขาดประจุลบจะเปลี่ยนความต่างศักย์ไฟฟ้า เป็นบวกทันทีเรียกว่าขั้วบวก ส่วนสังกะสีจะเป็นขั้วลบตามความต่างศักย์ ส่วนประกอบของไฟฟ้าเกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี  แบบเบื้องต้นนี้ ถูกเรียกว่า โวลตาอิกเซลล์ (Voltaic Cell) ที่ปรากฎ (ดังรูป)



  ไฟฟ้าเกิดจากความร้อน

            ไฟฟ้าเกิดจากความร้อน  เกิดขึ้นได้โดยนำแท่งโลหะหรือแผ่นโลหะต่างชนิดกันมา 2 แท่ง หรือ 2 แผ่น เช่น ทองแดง และเหล็ก นำปลายข้างหนึ่งของโลหะทั้งสองต่อติกกันโดยการเชื่อมหรือยึดด้วยหมุด  ปลายที่เหลืออีกด้านนำไปต่อกับเข้ามิเตอร์วัดแรงดัน  เมื่อให้ความร้อนที่ปลายด้านต่อติดกันของโลหะทั้งสอง  ส่งผลให้เกิดการแยกตัวของประจุไฟฟ้า  เกิดศักย์ไฟฟ้าขึ้นที่ปลายด้านเปิดของโลหะแสดงค่าออกมาที่มิเตอร์  ไฟฟ้าเกิดจากความร้อนแสดงดังรูป


ไฟฟ้าเกิดจากแสงสว่าง
        สารบางชนิดเมื่ออยู่ในที่มืดจะแสดงปฎิกิริยาใดๆออกมา แต่เมื่อถูกแสงแดดแล้วสารนั้นสามารถที่จะปล่อยอิเล็กตรอน ได้ เป็นเวลาหลายสิบปีนักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะเปลี่ยนแปงพลังงานไฟฟ้าแต่ยังนำแสงสว่างมาใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก เช่น อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า โฟโตวอลเทอิก เซลล์ ซึ่งประกอบด้วยวัตถุวางเป็นชั้นๆ เมื่อถูกกับแสงสว่างอิเล็กตรอน ที่เกิดขึ้นจะวิ่งจากด้านบนไป สู่โวลต์มิเตอร์แล้วไหลกลับมาชั้นล่างมื่อดูที่เข็มของโวลต์ โฟโต้เซลล์ มิเตอร์จะเห็นเได้อย่าง ชัดเจนว่ามีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น ยังมีหลอดอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า โฟโต-วอลเทอิก เซลล์(อิเล็กตริกอาย หรือ พี.อี.เซลล์)ซึ่งใช้ มากในวงการอุตสาหกรรม เช่น ในกล้องถ่ายรูปที่มีเครื่องวัดแสงโดยอัตโนมัติ ระบบไฟฟ้าอัตโนมัติหน้ารถยนต์ เครื่อง ฉายภาพยนตร์ เสียงสวิตช์ปิดเปิด ประตูอัตโนมัติ โดยจะมีหลักการทำงานแบบง่ายๆ เมื่อลำแสงมากระทบโฟโตเซลล์ก็จะ เกิดอิเล็กตรอนไหลในวงจรนั้นๆได้
ไฟฟ้าเกิดจากแรงกดดัน
           เมื่อเราพูดไปในไมโครโฟนหรือโทรศัพท์แบบต่างๆคลื่นของความแรงกดดันของพลังงานเสียงจะทำให้แผ่นไดอะ แฟรม เคลื่อนไหว ซึ่งแผ่นไดอะแฟรมจะทำให้ขดลวดเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กจึงทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าซึ่งถูกส่ง ไปตามสายจนถึงเครื่องรับ บางทีไมโครโฟนที่ใช้กับเครื่องขยายเสียงหรือเครื่อง วิทยุก็ใช้หลักการเช่นนี้เหมือนกัน อย่างไรก็ตามไมโครโฟนทุกชนิดมีหลักการทำงานที่เหมือนกัน คือใช้เปลี่ยนคลื่นแรงกดของเสียงให้เป็นไฟฟ้าโดยตรง นั่นเอง ผลึกของวัตถุบางอย่างถ้า ถูกกรดจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้นได้ เช่น หินเขี้ยวหนุมาน หินทูมาลีน และเกลือโรเลล์ ซึ่งแสดงให้ เห็นได้อย่างดีว่าแรงกดเป็นต้นกำเนิดไฟฟ้าถ้าเอาผลึกที่ทำจากวัสดุเหล่านี้สอดเข้าไประหว่างโลหะ ทั้งสอง นั้นจะมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับแรงกดหรืออาจจะใช้ผลึกนี้เปลียนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลัง งานกลได้โดยจ่ายประจุ เข้าที่แผ่นโลหะทั้งสองเพราะจะทำให้ผลึกนั้นหดตัวและขยายตัวออกได้ตาม ปริมาณของประจุ ต้นกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้แรง กดนี้นำไปใช้ได้แต่มีขอบเขตจำกัดคือ ใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ ที่ใช้กำลังต่ำมาก เช่น ไมโครโฟนชนิดแร่ หูฟังชนิดแร่ หัวเข็มรับเครื่องเล่นจานเสียง และเครื่องโซน่าร์ซึ่งใช้ส่งคลื่นใต้น้ำ เหล่านี้ล้วนแต่ใช้ผลึกทำให้เกิดไฟฟ้าด้วยแรงกด ทั้งสิ้น ดังนั้นเวลากรอกเสียงพูดลงในไมโครโฟนหรือเครื่องโทรศัพท์ แผ่นไดอะแฟรมซึ่งเชื่อมโยงติดกับครีสตอลจะเกิด แรงดันไฟฟ้ามากน้อยแล้วแต่จังหวะพูด ในขณะที่เสียงพูดกระทบแผ่นไดอะแฟรมก็จะถูกเปลี่ยนเป็นอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า ไหลเข้าสู่เครื่องขยายเสียง เพื่อให้ออกมาเป็นเสียงดังทางลำโพงขยายเสียงต่อไป



ไฟฟ้าเกิดจากสนามแม่เหล็ก

          จากการทดลองของไมเคิล ฟาราเดย์นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษพบว่าเมื่อนำแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ผ่าน ขดลวดหรือนำ ขดลวดเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก จะเกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดนั้นและยังสรุปต่อไปได้อีกว่ากระแสไฟฟ้า จะเกิดได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 1.จำนวนขดลวด ถ้าขดลวดมีจำนวนมากก็จะเกิดแรงดัน ไฟฟ้าเหนี่ยวนำมากด้วย 2.จำนวนเส้นแรงแม่เหล็ก ถ้าเส้นแรงแม่มีจำนวนมากก็จะ เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำมากด้วย 3.ความเร็วในการเคลื่อนที่ของแม่เหล็ก ถ้าเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กเร็วขึ้นก็จะเกิดแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมาได้ นำหลักการนี้มาคิดประดิษฐ์เป็นเครื่องกำเนิด ไฟฟ้าหรือเยนเนอเรเตอร์


ที่มา:http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric4/topweek3.htm

ประเภทของไฟฟ้า

ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จากแหล่งกำเนิดหลายๆ แบบ ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆได้ดังนี้
   1. ไฟฟ้าสถิต ( Static Electricity )
   2. ไฟฟ้ากระแส ( Current Electricity


ไฟฟ้าสถิต
           ไฟฟ้าสถิต คือ ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีเมื่อเอาวัตถุบางอย่างมาถูกันจะทำให้เกิดพลังงานขึ้น ซึ่งพลังงานนี้สามารถ ดูดเศษกระดาษหรือฟางข้าวเบาๆได้ เช่น เอาแท่งยางแข็งถูกับผ้าสักหลาด หรือครั่งถูกับผ้าขนสัตว์ พลังงานที่เกิดขึ้น เหล่านี้เรียกว่า ประจุไฟฟ้าสถิต เมื่อเกิดประจุไฟฟ้าแล้ว วัตถุที่เกิดประจุไฟฟ้านั้นจะเก็บประจุไว้ แต่ในที่สุดประจุไฟฟ้า จะถ่ายเทไปจนหมด วัตถุที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้นั้นจะคายประจุอย่างรวดเร็วเมื่อต่อลงดิน ในวันที่มีอากาศแห้งจะทำให้เกิด ประจุไฟฟ้าได้มาก ซึ่งทำให้สามารถดูดวัตถุจากระยะทางไกลๆได้ดี ประจุไฟฟ้าที่เกิดมีอยู่ 2 ชนิด คือ ประจุบวกและ ประจุลบ คุณสมบัติของประจุไฟฟ้า คือ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกันประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะดูดกัน


ไฟฟ้ากระแส
            ไฟฟ้ากระแสคือ การไหลของอิเล็กตรอนภายใน ตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเช่น ไหลจาก แหล่งกำเนิดไฟฟ้าไปสู่แหล่ง ที่ต้องการใช้กระ แสไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิด แสงสว่าง เมื่อกระแส ไฟฟ้าไหลผ่านลวด ความต้านทานสูงจะก่อให้ เกิดความร้อน เราใช้หลักการเกิดความร้อน เช่นนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เตาหุงต้ม เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น


ไฟฟ้ากระแสแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

-  ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D .C )

  -  ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current หรือ A.C. )

ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D .C )
             เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิดกล่าวคือกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวก
ภายในแหล่งกำเนิด ผ่านจากขั้วบวกจะไหลผ่านตัวต้านหรือโหลดผ่านตัวนำไฟฟ้าแล้ว ย้อนกลับเข้าแหล่งกำเนิดที่ขั้วลบ วนเวียนเป็นทางเดียวเช่นนี้ตลอดเวลา การไหลของไฟฟ้ากระแสตรงเช่นนี้ แหล่งกำเนิดที่เรารู้จักกันดีคือ ถ่าน-ไฟฉาย ไดนาโม ดีซี เยนเนอเรเตอร์ เป็นต้น

ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.1 ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทสม่ำเสมอ (Steady D.C) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง อันแท้จริง คือ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง
ที่ไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดไปไฟฟ้ากระแสตรงประเภทนี้ได้มาจากแบตเตอรี่หรือ ถ่านไฟฉาย


1.2 ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทไม่สม่ำเสมอ ( Pulsating D.C) เป็นไฟฟ้ากระแสตรงที่เป็นช่วงคลื่นไม่สม่ำเสมอ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดนี้ได้มาจากเครื่องไดนาโมหรือ วงจรเรียงกระแส (เรคติไฟ )


คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง
(1) กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด
(2) มีค่าแรงดันหรือแรงเคลื่อนเป็นบวกอยู่เสมอ
(3) สามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือแบตเตอรี่ได้

ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง
(1) ใช้ในการชุบโลหะต่างๆ
(2) ใช้ในการทดลองทางเคมี
(3) ใช้เชื่อมโลหะและตัดแผ่นเหล็ก
(4) ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก
(5) ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่
(6) ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
(7) ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย

ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current หรือ A.C. )
      เป็นไฟฟ้าที่มีการไหลกลับไป กลับมา ทั้งขนาดของกระแสและแรงดันไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คือ กระแสจะไหลไปทางหนึ่งก่อน ต่อมาก็จะไหลสวนกลับแล้ว ก็เริ่มไหลเหมือนครั้งแรก



ครั้งแรกกระแสไฟฟ้าจะไหลจากแหล่งกำเนิดไปตามลูกศรเส้นหนัก เริ่มต้นจากศูนย์ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงขีดสุด แล้วมันจะค่อยๆลดลงมาเป็นศูนย์อีกต่อจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลจากแหล่งกำเนิดไปตามลูกศรเส้นปะลดลงเรื่อยๆจนถึงขีด ต่ำสุด แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงศูนย์ตามเดิมอีก เมื่อเป็นศูนย์แล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลไปทางลูกศรเส้นหนักอีกเป็นดังนี้ เรื่อยๆไปการที่กระแสไฟฟ้าไหลไปตามลูกศร เส้นหนักด้านบนครั้งหนึ่งและไหลไปตามเส้นประด้านล่างอีกครั้งหนึ่ง เวียน กว่า 1 รอบ ( Cycle )
ความถี่ หมายถึง จำนวนลูกคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับที่เปลี่ยนแปลงใน 1 วินาที กระแสไฟฟ้าสลับในเมืองไทยใช้ไฟฟ้าที่มี ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งหมายถึง จำนวนลูกคลื่นไฟฟ้าสลับที่เปลี่ยนแปลง 50 รอบ ในเวลา 1 วินาที

คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ
(1) สามารถส่งไปในที่ไกลๆได้ดี กำลังไม่ตก
(2) สามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามต้องการโดยการใช้หม้อแปลง(Transformer)
ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสสลับ
(1) ใช้กับระบบแสงสว่างได้ดี
(2) ประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตได้ง่าย
(3) ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังมากๆ
(4) ใช้กับเครื่องเชื่อม
(5) ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เกือบทุกชนิด 

ทิศทางการไหลของกระแส
            การเกิดกระแสไหลในวงจรไฟฟ้าคือ  การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน  ดังนั้นในการกล่าวถึงการไหลของกระแสจึงหมายถึงอิเล็กตรอนเคลื่อนที่  กระแสชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า  กระแสอิเล็กตรอน (Electron Current) มีทิศทางการไหลจากศักย์ไฟฟ้าลบ (-) ไปยังศักย์ไฟฟ้าบวก (+) แต่ในบางครั้งการกล่าวถึงกระแสไหลอาจไม่ได้หมายถึงอิเล็กตรอนเคลื่อนที่  แต่เป็นโฮล  (Hole) หรือรูเคลื่อนที่  กระแสชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า กระแสนิยม (Conventional Current) มีทิศทางการไหลของกระแสจากศักย์ไฟฟ้าบวก (+) ไปยังศักย์ไฟฟ้าลบ (-) การที่โฮลหรือรูเคลื่อนที่ได้เพราะการเคลื่อนที่ไปของอิเล็กตรอน  ทำให้เกิดเป็นรูหรือช่องว่างขึ้นมานั่นคือเกิดโฮล เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปข้างหน้ามีผลให้เกิดโฮลเคลื่อนที่มาข้างหลัง  มีทิศทางสวนทางกัน  การอธิบายทิศทางการไหลของกระแสจะพบได้ทั้งกระแสอิเล็กตรอนและกระแสนิยม  ไม่ว่ากระแสจะไหลด้วยกระแสอะไรก็ตาม  ผลที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าไม่แตกต่างกัน  จึงกล่าวได้ว่าคือกระแสไหลเหมือนกัน  ลักษณะการไหลของกระแสอิเล็กตรอนและกระแสนิยม

ที่มาของไฟฟ้าที่พวกเราใช้กัน
ที่มาของไฟฟ้ามาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ผลิดกระแสไฟฟ้า ส่วนใหญ่ใช้พลังจากแรงดันไอน้ำ และแรงดันน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะถูกส่งมาตามสายไฟฟ้าที่เป็นโลหะ เข้าสู่บ้านเรือนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ส่วนประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคือไดนาโมที่ประกอบด้วยเหล็กทองแดง และแท่งแม่เหล็กและมีการเคลื่อนที่ในแนวตัดกันพลังงานที่ใช้ในการหมุนไดนาโมให้อุปกรภายในเคลื่อนที่ได้ คือแรงดันไอน้ำและแรงดันน้ำ
ประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า                        
-           ให้ความร้อน เช่น เตาไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า ฯลฯ
-           ทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เช่น กระดิ่งไฟฟ้า ออด ฯลฯ
-           ทำให้เกิดแรงหรือพลังงานกล ใช้แทนแรงงานคน เช่น  มอเตอร์หมุนพัดลม สว่าน ฯลฯ
-           สามารถใช้ในด้านการอำนวยความอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
โทษของพลังงานไฟฟ้า
แม้ไฟฟ้าจะมีประโยชน์แต่ก็มีโทษเช่นกันถ้าใช้ได้ถูกหลักก็จะไม่เกิดผลเสียที่ตามมา จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้ไฟฟ้าเพราะอุบัติเหตุจากไฟฟ้าอาจนำมาซึ่งการเสียชีวิตของผู้ใช้ได้นอกจากนี้การผลิตไฟฟ้าหรือการใช้ไฟฟ้าก็ยังสามารถทำให้เกิปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

ไฟฟ้ากระแสแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D .C )

  -  ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current หรือ A.C. )

ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D .C )
             เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิดกล่าวคือกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวก
ภายในแหล่งกำเนิด ผ่านจากขั้วบวกจะไหลผ่านตัวต้านหรือโหลดผ่านตัวนำไฟฟ้าแล้ว ย้อนกลับเข้าแหล่งกำเนิดที่ขั้วลบ วนเวียนเป็นทางเดียวเช่นนี้ตลอดเวลา การไหลของไฟฟ้ากระแสตรงเช่นนี้ แหล่งกำเนิดที่เรารู้จักกันดีคือ ถ่าน-ไฟฉาย ไดนาโม ดีซี เยนเนอเรเตอร์ เป็นต้น

ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.1 ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทสม่ำเสมอ (Steady D.C) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง อันแท้จริง คือ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง

ที่ไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดไปไฟฟ้ากระแสตรงประเภทนี้ได้มาจากแบตเตอรี่หรือ ถ่านไฟฉาย

1.2 ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทไม่สม่ำเสมอ ( Pulsating D.C) เป็นไฟฟ้ากระแสตรงที่เป็นช่วงคลื่นไม่สม่ำเสมอ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดนี้ได้มาจากเครื่องไดนาโมหรือ วงจรเรียงกระแส (เรคติไฟ )


ความเป็นมาของไฟฟ้า

    ในสมัยแรก ๆ มนุษย์รู้ว่า ไฟฟ้าเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่านับเป็นเวลานานที่มนุษย์ไม่สามารถให้คำอธิบายความเป็นไปที่แท้จริงของไฟฟ้า ที่ดูเหมือนว่าวิ่งลงมาจากฟ้าและมีอำนาจในการทำลายได้ จนกระทั่งมนุษย์สามารถประดิษฐ์สายล่อฟ้าไว้ป้องกันฟ้าผ่าได้  ในเวลาต่อมา 2500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชนพวก
ติวตัน ที่อาศัยอยู่แถบฝั่งแซมแลนด์ของทะเล บอลติกในปรัสเซียตะวันออก   ได้พบหินสีเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อถูกแสงอาทิตย์ก็จะมีประกายคล้ายทองคุณสมบัติพิเศษของมันคือเมื่อโยนลงในกองไฟมันจะสุกสว่างและติดไฟได้เรียกกันว่าอำพันซึ่งเกิดจากการทับถมของยางไม้เป็นเวลานาน ๆ อำพันถูกนำมาเป็นเครื่องประดับและหวี เมื่อนำแท่งอำพันมาถูก

ด้วยขนสัตว์ จะเกิดประกายไฟขึ้นได้ และเมื่อหวีผมด้วยหวีที่ทำจากอำพันก็จะมีเสียงดังอย่างลึกลับ และหวีจะดูดเส้นผม เหมือนว่าภายในอำพันมีแรงลึกลับอย่างหนึ่งซ่อนอยู่

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความเป็นมาของไฟฟ้า



ในสมัยแรก ๆ มนุษย์รู้ว่า ไฟฟ้าเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่านับเป็นเวลานานที่มนุษย์ไม่สามารถให้คำอธิบายความเป็นไปที่แท้จริงของไฟฟ้า ที่ดูเหมือนว่าวิ่งลงมาจากฟ้าและมีอำนาจในการทำลายได้ จนกระทั่งมนุษย์สามารถประดิษฐ์สายล่อฟ้าไว้ป้องกันฟ้าผ่าได้  ในเวลาต่อมา 2500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชนพวก
ติวตัน ที่อาศัยอยู่แถบฝั่งแซมแลนด์ของทะเล บอลติกในปรัสเซียตะวันออก   ได้พบหินสีเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อถูกแสงอาทิตย์ก็จะมีประกายคล้ายทองคุณสมบัติพิเศษของมันคือเมื่อโยนลงในกองไฟมันจะสุกสว่างและติดไฟได้เรียกกันว่าอำพันซึ่งเกิดจากการทับถมของยางไม้เป็นเวลานาน ๆ อำพันถูกนำมาเป็นเครื่องประดับและหวี เมื่อนำแท่งอำพันมาถูก

ด้วยขนสัตว์ จะเกิดประกายไฟขึ้นได้ และเมื่อหวีผมด้วยหวีที่ทำจากอำพันก็จะมีเสียงดังอย่างลึกลับ และหวีจะดูดเส้นผม เหมือนว่าภายในอำพันมีแรงลึกลับอย่างหนึ่งซ่อนอยู่